กล่องข้อความ: 		7-50100-001-189  		  ชื่อพื้นเมือง	:  ลำไย, ลำไยป่า,เจ๊ะเลอ  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Dimocarpus longan Lour.  ชื่อวงศ์	:  SAPINDACEAE  ชื่อสามัญ	:  Longan  ประโยชน์	:  ใบสดมีรสจืดและชุ่ม สุขุม เป็นยาแก้โรคมาลาเรีย ริดสีดวงทวาร ฝีหัวขาด และแก้ไข้หวัด โดยนำเอาต้มน้ำกิน  ดอกใช้ดอกสด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับหนองทั้งหลาย

บริเวณที่พบ : สวนหิน,หลังอาคารสมาคมศิษย์เก่า
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ผลรับประทานได้
ลักษณะทั่วไป
ต้น :
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สุง 9 - 12 เมตร เรือนยอดกลมและเป็นพุ่มทึบเปลือกขรุขระ สีน้ำตาลหรือสีเทา กิ่งค่อนข้างเปราะ
เนื้อไม้ มีสีแดงและแข็ง
ใบ : เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 2 - 5 คู่ ออกตรงข้ามหรือสลับกัน รูปร่างใบเรียวยาว สีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
ดอก : เป็นช่อแบบพานิเคิล (panicle) มีขนาดเล็ก ดอกเกิดที่ปลายยอด ดอกมีสีครีมหรือขาวปนเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์
เพศในช่อดอกเดียว กัน และมีดอกเพศผู้ดอกเพศเมีย
ผล : มีรูปร่างค่อนข้างกลม เปลือกบางสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีสีขาวขุ่น รสหอมหวาน เมล็ด ผลหนึ่งๆ มีเมล็ดเดียว รูปร่างกลม สีดำเข้มเป็นมัน ด้านบนของเมล็ดมีเนื้อเยื่อติดเป็นวงขาว ๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายลูกตา
ประโยชน์ : ผลนำมาบริโภคสด แปรรูปบรรจุกระป๋องหรือตากแห้ง ผลลำใยแห้ง ต้มน้ำดื่ม แก้เหนื่อยหรืออ่อนเพลีย , เปลือกลำต้น ใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง , รากต้มกับน้ำตาลกรวด ขับเสมหะ แก้ฟกช้ำ ลำต้นใช้ทำเครื่องเรือนตกแต่งบ้าน

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ใบ
ลำต้น
ผล

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   ลำไย   รหัสพรรณไม้   7-50100-001-189